Sunday, September 16, 2018

แผนภาพบริบท (conteext dlagram) 
     เป็นแผนภาพกระเเสข้อมูลระดับบนสุดที่เเสดงภาพรวมทั้งหมดของระบบที่มีความสัมพันธ์กับสภาพเเวดล้อมภายนอกระบบ ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการเพียงกระบวนการเดียวนั่นคือ ระบบที่ศึกษา บุคคล ระบบภายนอก และการเคลื่อนที่ของข้อมูลจากภายนอกระบบสู่ระบบ

                                                                        
 2.3ออกแบบระบบ
       ออกเบบระบบ คือ ขั้นตอนการกำหนดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ โดยขั้นตอนนี้จะกำหนดขั้นตอนการทำงานโดยใช้แผนภาพเเสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน(flowchart) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Entity Relationship Diagram : ER Diagram) พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) หน้าจอส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (Graphic User Interface : GUI) เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาต่างๆ ของระบบงาน ลักษณะการเขียนชุดคำสั่ง รวมถึงจัดทำเอกสารการออกแบบระบบ เช่น ลักษณะการจัดเก็บข้อมูลสมาชิก เป็นต้น
2.4 พัฒนาระบบเเละทดสอบระบบ
       พัฒนาระบบ เเละทดสอบระบบ คือ ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบ โดยดำเนินงานตามการออกแบบจากขั้นตอนการออกแบบระบบ เช่น การเขียนชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อสร้างซอฟแวร์ การสร้างฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูล จัดทำเอกสารพัฒนาระบบ รวมถึงการทดสอบระบบงานว่าสามารถทำได้อย่างถูกต้อง เเละตรงตามตวามต้องการของผู้ใช้งานจากขั้นตินการวิเคราะห์ระบบหรือไม่ โดยทดสอบระบบในสภาพแวดล้อมจำลองและสภาพแวดล้อมจริง เป็นต้น


2.5ติดตั้งระบบ
       ติดตั้งระบบ คือ ขั้นตอนการนำซอฟแวร์เเละระบบงานใหม่ที่เสร็จสมบูรณ์มาติดตั้งในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง จัดทำเอกสารการจัดตั้งระบบงานใหม่เเละคู่มือการใช้งาน จัดฝึกอบรมผู้ใช้งาน ดำเนินการใช้ระบบงานใหม่ ประเมินผลการใช้งานระบบงานใหม่ เพื่อหาจุดบกพร่องต่างๆ ซึ่งการใช้งานระบบงานใหม่นั้น ควรใช้งานควบคู่กับระบบงานเดิม (กรณีที่มีระบบงานเดิม) โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน เเละเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ หากถูกต้องตรงกันจึงนำระบบงานเดิมออก เเล้วใช้งานระบบใหม่แทนที่


2.6บำรุงรักษาระบบ
       บำรุงรักษาระบบ คือ ขั้นตอนการดูแลระบบต่างๆ เช่น การแก้ไขจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้งานในสภาพเเวดล้อมจริง การเพิ่มเติมความสามารถของระบบงาน การปรับเปลี่ยนการทำงานบางประการให้ทันสมัยมากขึ้น เป็นต้น จากขั้นตอนการพัฒนาโครงงานทางเทคโนโลยีสามารถนำเอาหลักแนวคิดเชิงคำนวณเข้าไปประยุกต์ใช้ตั้งเเต่การกำหนดปัญหาหลักฬหญ่ของโครงงาน และเเยกแยะปัญหาย่อย จากนั้นทำการหารูปแบบในการแก้ปัญหาต่างๆ

Saturday, September 15, 2018

สัญลักษณ์ในการวาดแผนภาพกระแสข้อมูล



                                    
                    ขั้นตอนการดำเนินงาน (process) เป็นงานที่ดำเนินการตอบสนองข้อมูลที่รับเข้า หรือ
      ดำเนินการตอบสนองต่อเงื่อนไขสภาะใดๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าขั้นตอนการดำเนินงานนั้นจะกระทำ
      โดยบุคคล หน่วยงาน หุ่นยนต์ เครื่องจักร หรือเคร่องคอมพิวเตอร์ก็ตาม
                     แหล่งจัดเก็บข้อมูล  (data store) เป็นแหล่งเก็บและบันทึกข้อมูล เปรียบเสมือนคลัง
ข้อมูล  (เทียบเท่ากับไฟล์ข้อมูล และฐานข้อมูล) โดยอธิบายรายละเอียดและคุณสมบัติเฉพาะตัว
ของสิ่งที่ต้องการเก็บและบันทึก สัญลักษณ์ที่ใช้อธิบาย  คือ สี่เหลี่ยมเปิดหนึ่งข้าง แบ่งออกเป็น 2
ส่วน ได้แก่ ส่วนที่1 ทางด้านซ้าย ใช้แสดงรหัสของ data store  โดยอาจจะเป็นหมายเลขลำดับหรือ
ตัวอักษรได้ เช่น D1 D2 เป็นต้นสำหรับส่วนที่ 2  ทางด้านขวา ใช้แสดงชื่อ data  store  หรือชื่อไฟล์
                     ตัวเเทนข้อมูล (external agents) หมายถึง   บุคคล  หน่วงงานในองค์กร   องค์กรอื่นๆ 
หรือระบบงานอื่นๆ ที่อยู่ภายนอกขอบเขตของระบบ เเม่เชื่อมกับระบบโดยมีการส่งข้อมูลเข้าสู่ข้อมุล
เพื่อดำเนินการ เเละรับข้อมูลเพื่ออดำเนินการสัญลักษณ์ไว้อภิบายสี่เหลี่ยมจัสตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในจะต้องเเสดงชื่อตัวเเทนข้อมูล โดยสามารถทำซ้ำได้ด้วยการใช้เครื่องหมาย \ (back slash)
                    เส้นมางการไหลของข้อมุล (data flow) เป็นการสื่อสารระหว่างขั้นตอนการทำงานต่างๆ
และสภาพแวดล้อมภายนอกหรือภายในระบบ   โดยแสดงถึงข้อมุลที่นำเข้าและส่งออกไปในแต่ละ
ขั้นตอน ใช้ในการแสดงถึงการบันทึกข้อมุล  คือ  เส้นตรงที่ประกอบด้วยหัวลูกศร เพื่อบอกทิศทาง
การเดินทางหรือการไหลของข้อมูล














Tuesday, September 4, 2018

แนวคิดเชิงคำนวณ

       1.แนวคิดการแยกย่อย (Decomposition)
แตกปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อยที่มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถจัดการปัญหา
ได้ง่ายขึ้น ทักษะนี้เทียบเท่ากับการคิดวิเคราะห์
         *แตกปัญหากระบวนการออกเป็นส่วนย่อย

       2.แนวคิดการจดจำรูปแบบ (Pattern Recognition)
กำหนดแบบแผนจากปัญหาย่อยต่างๆ จากปัญหาที่มีรูปแบบ
ที่หลากหลาย โดยปัญหาต่างๆ มักมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ
หากเราเข้าใจปัญหา จะพบว่าปัญหาที่แตกต่างกัน สามารถใช้
วิธีการในการแก้ไขปัญหาแบบเดียวกันได้ ทักษะนี้เทียบเท่ากัน
การคิดวิเคราะห์แบบเชื่อมโยง
            *ดูความเหมือนความแตกต่างของรูปแบบการเปลี่ยนแปลง

       3.แนวคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)
การหาแนวคิดเชิงนามธรรมหรือการนิยาม เพื่อหาแนวคิดรวบยอด
ของแต่ละปัญหาย่อย เป็นการมุ่งเน้นความสำคัญของปัญหาโดย
ไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงแก่นแท้
ของปัญหา ทักษะนี้เทียบเท่ากับการคิดสังเคราะห์ จนได้มาซึ่งแบบ
จำลอง (Model) เช่น แบบจำลองต่างๆ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ในรูปของสมการหรือสูตร เป็นต้น
          *มุ่งเน้นความสำคัญของปัญหาโดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

      4.แนงคิดการออกแบบขั้นตอน (Algorithm Design)
ออกแบบลำดับขั้นตอนการแแก้ปัญหาด้วยการคิดเชิงอัลกอริทึม เป็นความคิด
พื้นฐานในการสร้างชุดของของลำดับขั้นตอนวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้
ในการแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะแบบเดียวกันได้
          *แก้ปัญหาโดยการออกแบบกระบวนการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน

Monday, September 3, 2018

แนวคิดเชิงคำนวณ (computational Thinking)

            แนวคิดเชิงคำนวณ (computational Thinking) ไม่ใช่การคิดเหมือนหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ แต่เป็นทักษะที่มุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะ คือ สามารถอธิบายการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ หรือเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยการเข้าใจปัญหาและวิธีการในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทั้งมนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจร่วมกันได้

       แนวคิดเชิงคำนวณ

   1.แนงคิดการแยกย่อย (Decomposition)
แนวคิดการแยกย่อย เช่น แตกปัญหา
กระบวนการออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้
จัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น

   2.แนวคิดการจดจำรูปแบบ (Pattern Recognition)
แนวคิดการจดจำรูปแบบ เพื่อดูความ
เหมือน ความแตกต่างของรูปแบบ
การเปลี่ยนแปลง ทำให้ทราบแนวโน้ม
เพื่อทำยานไปข้างหน้าได้

   3.แนวคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)
แนวคิดเชิงนามธรรม เป็นทักษะสำคัญที่
มุ่งเน้นความสำคัญของปัญหา โดยไม่สนใจ
รายละเอียดที่ไม่จำเป็น และต่อยอดให้เกิด
แบบจำลองหรือสูตร

   4.แนวคิดการออกแบบขั้นตอน (Algorithm Design)
แนวคิดการออกแบบขั้นตอนในการ
แก้ปัญหา ทำให้ทราบว่าจะต้องทำอะไร
ก่อนอะไรหลัง